เราใช้คุกกี้เพื่อให้แน่ใจว่าเราได้มอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานเว็บไซต์ของเรา หากคุณใช้เว็บไซต์ต่อ หรือปิดข้อความนี้ลง เราถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้และนโยบายความเป็นส่วนตัว อ่านเพิ่มเติม

จังหวัดกาฬสินธุ์

ตั้งอยู่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสานหรือที่เรียกว่า "กาฬสินธุ์เมืองดินดำน้ำชุ่ม" ที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ในการทำการเกษตร นอกจากนี้กาฬสินธุ์ยังมี สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง แผนที่มหาสารคาม

อาณาเขต

เส้นทางคมนาคม

ทางรถยนต์

สามารถใช้เส้นทางติดต่อทั้งภายในจังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนถึงกรุงเทพมหานคร ได้อย่างสะดวก

ทางรถทัวร์

มี บขส.,นครชัยแอร์

ทางเครื่องบิน

มี 2 สายการบินให้บริการ กรุงเทพ(ดอนเมือง)-กาฬสินธุ์(ลงเครื่องที่ สนามบินขอนแก่นหรือสนามบินร้อยเอ็ด)

แอร์เอเชีย-กาฬสินธุ์

กรุงเทพฯ(ดอนเมือง) - กาฬสินธุ์ (สวนสาธารณะกุดน้ำกิน)

แอร์เอเชีย ดอนเมือง-กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์ (สวนสาธารณะกุดน้ำกิน) - กรุงเทพฯ(ดอนเมือง)

แอร์เอเชีย กาฬสินธุ์-ดอนเมือง
*เที่ยวบินนี้ไม่ใช่เที่ยวบินตรง บริการลงเครืองที่สนามบินขอนแก่นแล้วต่อด้วยรถของสายการบิน ตรวจสอบเที่ยวรถและเที่ยวบินได้ที่ เที่ยวบินสนามบินขอนแก่น

การท่องเที่ยวขอนแก่น

แหล่งท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์และโบราณวัตถุ

อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร ( ท้าวโสมพะมิตร )

ตั้งอยู่หน้าที่ทำการไปรษณีย์ โทรเลขจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอนุสาวรีย์หล่อด้วยสัมฤทธิ์เท่าตัวจริง ยืนบนแท่น มือขวาถือกาน้ำ มือซ้ายถือดาบอาญาสิทธิ์ ชาวกาฬสินธุ์ได้สละทรัพย์ก่อสร้างอนุสาวรีย์ เพื่อเป็นการแสดงกตเวทิตาคุณต่อผู้ให้กำเนิดเมืองกาฬสินธุ์

พระพุทธสถานภูปอ

ตั้งอยู่ตำบลภูปอ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ไปทางทิศเหนือประมาณ 28 กิโลเมตร ไปทางอำเภอสมเด็จหรืออำเภอสหัสขันธ์ เป็นที่ประดิษฐพระพุทธรูปโบราณปางไสยาสน์ ฝีมือช่างจากสมัยทวาราวดีจำหลักบนหน้าผา 2 องค์ เป็นที่เคารพบูชาของชาวจังหวัดกาฬสินธุ์และใกล้เคียง องค์แรกประดิษฐานอยู่บนเชิงเขาทางขึ้น องค์ที่สอง ประดิษฐานอยู่บนภูปอนอก จากภูปอจะเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปปางไสยาสน์อันศักดิ์สิทธิ์แล้วยัง เป็นสถานที่มีทิวทัศน์ตามธรรมชาติที่สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจอย่าง ยิ่ง

พระพุทธไสยาสน์ถ้ำภูค่าว

อยู่บ้านนาสีนวล ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ ห่างจากตลาดสหัสขันธ์ประมาณ 6 กิโลเมตร บริเวณถ้ำภูค่าวแต่เดิมเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาแห่งหนึ่งปัจจุบันเป็นเพียง วัดเล็กๆเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ภูค่าวซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่แปลกจาก พระนอนทั่วไป คือ ไสยาสน์ตะแคงซ้าย ไม่มีพระเกตุมาลา พระนอนองค์นี้มีประวิติว่าสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2235 เป็นพระโมคัลลาน เป็นที่เคารพของชาวบ้านทั่วไป มีงานนมัสการปิดทองในวันตรุษสงกรานต์ทุกปี

พุทธสถานภูสิงห์

ตั้งอยู่บนยอดเขาภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธ์ ใกล้ตลาด สหัสขันธ์ห่างจากจังหวัด 34 กม. มีทางขึ้น 2 ทาง คือ ทางราดยางคดเคี้ยวขึ้นตามไหล่เขาทางทิศตะวันตก และทางเดินเท้า ทำเป็นบันได 104 ขั้น ทางทิศตะวันออก เป็นสถานที่พักผ่อนที่ร่มรื่นล้อมรอบด้วยธรรมชาติ ทั้งยังมองเห็นทิวทัศน์ของทุ่งนา หมู่บ้าน และน้ำในเขื่อนลำปาวอันสวยงามอีกด้วย พุทธสถานภูสิงห์เป็นที่ประดิษฐานพระพรหมภูมิปาโล ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 10.5 เมตร มีพุทธลักษณะสง่างามเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2511

เมืองฟ้าแดดสงยาง

ตั้งอยู่ในเขตอำเภอกมลาไสย ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 20 กม. มีซากอิฐปนดิน คูเมืองสองชั้น มีลักษณะเป็นท้องน้ำที่พอมองเห็น คือพระธาตุยาคูผังเมืองรูปไข่แบบทวาราวดีแต่มีตัวเมืองสองชั้นเชื่อว่าเกิดจากการขยายตัวเมือง ชาวนามักขุดพบใบเสมา หินทรายมีลวดลายบ้างไม่มีบ้าง ที่ขึ้นทะเบียนไว้ทางกรมศิลปากร 130 แผ่น พระพิมพ์ดินเผามีลักษณะเป็นอิทธิพลของสกุลช่างคุปตะรุ่นหลัง อายุประมาณ 1,000 – 2,000 ปี มีอยู่ทั่วไปนอกจากนี้ยังพบกล้องยาสูบดินเผาลวดลายอมราวดีก้านขดเป็นรูปตัวมังกร อายุ 7,000 ปี ที่น่าสนใจคือกล้องยาสูบชนิดเดียวกันแต่ทำด้วยทองสัมฤทธิ์อายุประมาณ 5,000 – 6,000 ปี ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่ายุคโลหะของสุวรรณภูมิได้เริ่มมาก่อนทุก ๆ แห่งในโลกนี้

พระธาตุยาคู

ตั้งอยู่กลางทุ่งนาทิศเหนือบ้านเสมา อำเภอกมลาไสย ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ 19 กิโลเมตร เป็นศิลปะการก่อสร้างแบบทวาราวดีทำด้วยอิฐดิน ฐานเป็นรูป 8 เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองขนาดฐานกว้าง 10 เมตร ยาว 10 เมตร สร้างซ้อนกันเป็นลักษณะแบบจตุรมุข สูงจากฐานถึงยอด 8 เมตร เชื่อกันว่าเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ

ใบเสมาบ้านก้อม

ตั้งอยู่บ้านเสมาตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย (อยู่ภายในเมืองฟ้าแดดสงยาง) ทำด้วยศิลาแลง กว้าง 1 ศอก หนา 8 นิ้ว รวม 29 แผ่น และทำด้วยศิลาแลง จำหลักฐานเป็นเทวดาผู้ชาย 1 หลัก ผู้หญิงยืนเคียงกัน 1 หลัก กว้าง 1 ศอกคืบ ยาว 3 ศอก หนา 8 นิ้ว 1 แผ่น

พิพิธภัณฑ์สิรินธร หรือ อุทยานโลกไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว

ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูกุ้มข้าว วัดป่าสักกะวัน อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ เป็นแหล่งค้นพบซากโครงกระดูกของไดโนเสาร์ ซึ่งมีอายุกว่า 150 ล้านปี ที่มีความสมบูรณ์ และมากที่สุดในประเทศไทย (มากกว่า 700 ชิ้น) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาเปิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2551 เปิด.ให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น.

รอยเท้าไดโนเสาร์

จังหวัดกาฬสินธุ์ค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2539 บริเวณกลางลานหินร่องน้ำห้วยวังเครือจาน เชิงเขาภูแฝก เทือกเขาภูพาน บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้างอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นรอยเท้าไดโนเสาร์ประเภทเทอร์โรฟอส จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โนซอร์ ชนิดกินเนื้อ อายุประมาณ 140 ล้านปี ซึ่งลักษณะรอยเท้ามีความชัดเจนถึง 7 รอย ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์ นอกจากนี้ยังขุดพบซากกระโครงกระดูกที่วัดบ้านนาไคร้ อำเภอกุฉินารายณ์ และที่เชิงเขาวัดภูปอ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์

หมู่บ้านพัฒนาวัฒนธรรมผู้ไทยบ้านโคกโก่ง

อำเภอกุฉินารายณ์ ห่างจากจังหวัดประมาณ 90 กม. ได้รับรางวัลชนะเลิศหมู่บ้านวัฒนธรรมดีเด่นแบบ HOMESTAY

พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์

ศาลากลางจังหวัด(อาคารเดิม) จัดตั้งเป็นศูนย์สาธิตอาชีพหัตถกรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วยห้องจัดแสดงนิทรรศการต่าง เช่น ห้องประวัติของจังหวัดกาฬสินธุ์ ห้องวิถีชีวิตชาวผู้ไทยในอดีต ที่มีหัตถกรรมพื้นบ้านต่าง ๆ จัดแสดงไว้ห้องเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ห้องวิถีชีวิตการทำนาชาวนากาฬสินธุ์ ห้องโชว์แพรวา ห้องจัดแสดงผลผลิตทางการเกษตร และห้องจำหน่ายผ้าไหม สินค้าของที่ระลึกต่าง ๆ ของจังหวัด

ศูนย์วัฒนธรรมชาวผู้ไทยบ้านโพน (ศูนย์วิจิตรแพรวาบ้านโพน)

อ.คำม่วง (ห่างจากจังหวัดประมาณ 85 กม. ) ประกอบ ด้วยอาคารวิจิตรแพรวา ศาลาเฉลิมพระเกียรติ อาคารโปงลางและงานการแสดงพื้นบ้านอื่นๆ ของจังหวัด พร้อมกับหาซื้อผ้าไหมแพรวาและสินค้าของที่ระลึกต่าง จากแหล่งผลิตในราคาท้องถิ่น

แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติจังหวัดกาฬสินธุ์

เขื่อนลำปาว

เป็นเขื่อนดิน สูงจากท้องน้ำ 33 เมตร สันเขื่อนยาว 7.8 กิโลเมตร กว้าง 8 เมตร นับเป็นเขื่อนดินยาวที่สุดในประเทศไทย เริ่มก่อสร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2506 เพื่อปิดกั้นลำน้ำปาวและห้วยยางที่บ้านหนองสองห้อง ตำบลลำปาว อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ทำให้เกิดเป็นอ่างเก็บน้ำแฝดทางด้านเหนือเขื่อนจึงได้ขุดร่องเชื่อมระหว่างอ่างทั้งสองให้เป็นอ่างเดียวกัน ซึ่งตัวอ่างน้ำเก็บน้ำได้ 1,430 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับน้ำเหนือเขื่อน 5,960 ตารางกิโลเมตร ทางเข้าเขื่อนแยกจากทางหลวงสายกาฬสินธุ์ – มหาสารคามที่กิโลเมตรที่ 10 ประมาณ 26 กิโลเมตร เขื่อนลำปาวเป็นเขื่อนที่สร้างขึ้นเพื่อบรรเทาอุทกภัยและเพื่อการเกษตรโดยเฉพาะ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำทางบกทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ

หาดดอกเกด

ซึ่งเป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับที่ปรับปรุงได้อย่างสวยงาม อยู่บริเวณหน้าสันเขื่อนลำปาว และอุทยานสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นศูนย์เพาะปลา รวมจัดเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำด้วย

สวนสะออน (สถานศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าลำปาว)

เป็นสวนป่าธรรมชาติอยู่ทางทิศเหนือของเขื่อนลำปาว มีเนื้อที่ประมาณ 1,420 ไร่ สร้างขึ้นเพื่อรักษาป่าธรรมชาติ ปรับปรุงบริเวณให้สะอาดร่มรื่น ปลูกต้นไม้เพิ่มเติมแบ่งภายในบริเวณสวนสะออนออกเป็นส่วน ๆ โดยสร้างรั้วตาข่ายล้อมรอบ แล้วนำสัตว์ป่าในเมืองไทย ทุกชนิดมาปล่อยไว้เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าชมและศึกษา ตลอดทั้งหาความเพลิดเพลินกับธรรมชาติด้วย

ผาเสวย

ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพานในเขตบ้านแก้งกะอาม หมู่ที่ 6 ตำบลผาเสวย เดิมชาวบ้านเรียกว่า "ผารังแร้ง" เมื่อ พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จผ่านและเสวยพระกระยาหารกลางวัน จึงเรียกที่ประทับแห่งนั้นว่า “ผาเสวย” ซึ่งมีลักษณะหน้าผาสูงชันตั้งอยู่บนเหวลึก ชาวบ้านเรียกกันว่า“เหวหำหด” บนหน้าผาเสวยสามารถชมทัศนียภาพ และเป็นที่ผักผ่อนหย่อนใจได้เป็นอย่างดี ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอสมเด็จ 17 กิโลเมตร เส้นทางสายสมเด็จ – สกลนคร